วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่15


บันทึกอนุทิน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่15 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น

สิ่งที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอแผ่นพับที่ให้ความรู้กับผู้ปกครอง
  
    กลุ่มที่1 ประโยชน์และข้อควรระวังของไก่


    กลุ่มที่2 ส่วนประกอบของไก่


    กลุ่มที่3 ชนิดของไก่


กลุ่มที่4 ลักษณะของไข่



ครั้งที่14


บันทึกอนุทิน
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่14 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น

สิ่งที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น Mind Mad 


        เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ทำแผนผับให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่แต่ล่ะกลุ่มได้รับ





วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่13


บันทึกอนุทิน
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่13 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น

สิ่งที่ได้รับ
 วันนี้อาจารย์ให้4กลุ่มที่เหลือออกมานำเสนอวิธีการสอน เริ่มจากกลุ่มของวันที่2 คือหน่วยการเรียนรู้เรื่องไข่


กลุ่มของวันที่3 คือหน่วยการเรียนรู้เรื่องไก่ (ส่วนประกอบของไก่)



กลุ่มของวันที่4 ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉันเอง ได้นำเสนอในหน่วยไข่


กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มของวันที่5 คือหน่วยไก่ (การดูแลรักษาไก่)


       จากนำเสนอของแต่กลุ่มเราสามารถนำมาบูรณาการณ์ในการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆได้ เด็กจะได้ในเรื่องการสังเกตุ เปรียบเทียบ การนับ หรือเพิ่มลดจำนวนของสิ่งของต่างๆด้วย

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่12


บันทึกอนุทิน
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่12 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น

สิ่งที่ได้รับ
 วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ได้วันที่1 ออกไปนำเสนองาน ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องไก่ วันที่1จะเป็นชนิดของไก่ เพื่อนเริ่มต้นการสอนโดยใช้เพลงแจ้ขันประชันต๊อก

ไก่หนึ่งตัวเดินมาตามถนน..คือไก่แจ้,มันชั่งเดิน.วกวน
หงอนใหญ่หนา..มีสีแดง..ตั้งตรง! / หางตั้งชู มันช่างดูซุกซน
เดินไปมา เจอไก่ต๊อกหน้ามน..มองที่ขน เธอเงางาม,ชอบกล
ตัวเธอป้อม..หางปลายสั้น ชี้ลง / ทั้ง2ตัว ร้องประสาน..เสียงตน.
เอกอี่เอก เอกอี่เอก อี๊เอ๊ก
เอกอี่เอก..เอก อี่เอกกก อี่เอก..
By Aris 
    
           และต่อด้วยการให้เด็กบอกชื่อชนิดไก่ในเพลงและไก่ที่เด็กรู้จัก  โดยเขียน mad บนกระดาน และเริ่มกิจกรรมด้วยการให้เด็กทายว่าในผ้าด้านหน้าของครูคิดว่าเป็นอะไร  เมื่อเปิดมาก็จะเป็นไก่แจ้กับไก่ต๊อกที่มี่ชนิดละ 4 ตัว รวม 2 ชนิดเป็น 8 ตัว ให้เด็กๆช่วยกันนับ  แล้วแบ่งชนิดออกจากกัน  แล้วคอยมานับ 1ต่อ1 ว่าไก่ทั้ง 2 ชนิด มีจำนวนที่เท่ากัน  และก็สรุปว่าวันนี้ได้รู้จักไก่กี่ชนิด  อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร


     เมื่อกลุ่มของวันที่1นำเสนอเสร็จแล้วก็ต่อด้วยแผนการสอนของอีก4วันที่เหลือ




ครั้งที่11


บันทึกอนุทิน
วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่11 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น
สิ่งที่ได้รับ
 เนื่องจากวันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ กลุ่มของพวกเราได้มีการนำดอกไม้เพื่อที่จะมาไหว้ครูเพื่อขอขมาลาโทษ และขอพรกับอาจารย์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง


   จากนั้นอารจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ล่ะคนออกมานำเสนอสื่อที่ตนเองคิดและจับคู่ทำสื่อให้กับนักสึกษาแต่ล่ะคนว่าควรจะคู่กับใคร


    อาจารย์แจกใบเขียนแผนให้คนล่ะหนึ่งใบเพื่อที่จะเขียนแผนในแต่ล่ะวันที่เราเลือกหน่วยขึ้นมา ฉันได้วันที่4ในเรื่องการเก็บรักษาส้ม

ครั้งที่10


บันทึกอนุทิน
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่10 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น

สิ่งที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้เริ่มนำเสนอกิจกรรมสาระคณิตศาสตร์    กลุ่มดิฉันได้เรื่องพีชคณิต  เราจึงนำเสนอกิจกรรมที่ชื่อว่า ผลไม้หรรษา  คือ เราจะมีสื่อมีสาธิตให้เพื่อนๆและอาจารย์ได้ดู และอาธิบายวิธีการเล่น ซึ่งเกมส์นี้จะทำให้เด็กได้คิดว่าควรจะวางรูปใหนไว้ตรงใหน


อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ5คน เพื่อที่จะทำแผนการในแต่ละสัปดาห์ว่าจะสอนอะไร กลุ่มของดิฉันเลือกที่จะสอนในเรื่องของ ส้ม


การนำไปประยุกค์ใช้
 เราสามารถนำไปบูรณาการณ์สานในด้านวิชาอื่นๆได้อีก เพื่อที่จะต่อยอดความรู้ไปเรื่อยๆ

ครั้งที่9


บันทึกอนุทิน
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่9 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
สิ่งที่ได้รับ
  วันนี้เป็นวันเริ่มการเรียน การสอนวันแรกของปี เริ่มต้น พ.ศ. ใหม่ มีเพื่อนมาเรียนแค่12คน แต่ก็ยังมีการดำเนินการเรียนการสอนต่อ อาจารย์ได้เริ่มทบทวนสาระคณิตศาสตร์ก่อนที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่6กิจกรรมหลัก

คณิตฯ กับกิจกรรมการเคลือนไหวและจังหวะ  
   - การนับเลข ( จังหวะ )
   - สัญลักษณ์ ( วงกลม )
   - การเคลื่อนที่อย่างมีทิศทาง
   - การเปรียบเทียบ
   - เวลา ( ช้า,เร็ว )
   - เพิ่ม,ลดจำนวน ( การจับกลุ่ม )
   - การหาพื้นที่ ( ในการเคลื่อนไหว )

คณิตฯ กับกิจกรรมศิลปะ
   - มีการนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมให้สมบูรณ์เป็นสิ่งที่เด็กๆต้องการ
   - การนำตัวเลขมาออกแบบต่างๆ เช่น บ้านเลขที่  เลขที่ของเด็กๆ เป็นต้น
  
คณิตฯ กับการเล่นเสรี
   - มุมบล็อก  นำบล็อกรูปทรงต่างๆ มาต่อเป็นรูปนั้น โดยที่เราสามารถนำวัสดุที่เหลือใช้มาช่วยให้สมบูรณ์แบบได้
   - มุมภาษา
   - เกมการศึกษา  ( ความสัมพันธ์ )
   - มุมบ้าน  ( ของใช้ในบ้าน เป็นการจัดหมวดหมู่ )

   เกมกลางแจ้ง แบ่งออกเป็น 3 เกม  
           1. เบ็ดเตล็ด ทั่วไป
           2. เกมผลัด
           3. เกมใช้ทักษะทางกีฬา
*** ได้เรื่องเวลา  ระยะทาง เป็นต้น

คณิตฯ กับเกมการศึกษา
   - จับคู่
   - จิ๊กซอว์ (ตัดต่อ)
   - เรียงลำดับ
   - จัดหมวดหมู่ ฯลฯ

คณิตฯ กับเสริมประสบการณ์
   ***จะเป็นคาบหน้าที่แต่ละกลุ่มจะออกมารายงาน



ครั้งที่8


บันทึกอนุทิน
วันที่ 26 ธันวาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่8 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดช่วงวันคืนปีใหม่


ครั้งที่7


บันทึกอนุทิน
วันที่ 19 ธันวาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่7 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค


วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เข้าเรียนครั้งที่6

บันทึกอนุทิน
วันที่ 12 ธันวาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่6 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สิ่งที่ได้รับ
          อาจารย์เริ่มต้นการสอนด้วยการพูดเรื่อง มาตรฐาน PUF ทบทวนเรื่องแบบรูป และเข้าสู่การสอนด้วยการยก นาฬิกาขึ้นมาว่าเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์อะไรบ้างและมีการยกตัวอย่างสื่อการสอนที่มีนาฬกา นาฬกานั้นเป็นสื่อที่มีอย่างหลาหลายรูปแบบ สามารถทีจะนำเข้าไปสู่การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องการมาเรียนเวลาเท่าไหร่ และยังใช้ปฏิทินในการสอนได้ทั้งเรื่อง เวลา คำศัพท์ เดือน การเพิ่ม-ลดจำนวนเมื่อให้ดูตัวอย่างกิจกรรมต่างๆแล้ว อาจารย์ก็ให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง โดยแจกดินน้ำมันคนละก้อน และไม้เสียบลูกชิ้น แล้วตั้งโจทย์ว่า ให้ทำเป็นรูปทรงตางๆ โดยใช้ไม้กับดินนำมันโดยอาจารย์จะให้ทำหลายๆรูปทรงมีสามเหลี่ยว สีเหลี่ยม ตามอิสระ


   เพลง   ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่  
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี

เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  
อีกฝูงบินล่องลอยมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง แม่ไก่ออกไข่
      แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง (นับต่อไปจนถึงสิบ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน สิบวันได้ไข่สิบฟอง

เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวไต่อยู่บนหลังคา ตัวหนึ่งกระโดดตุ๊บ ลงมาเหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับ)
ลูกแมวตัวหนึ่งไต่อยู่บนหลังคา พอมันกระโดดลงมาบนหลังคาก็ไม่มีแมว
การนำไปประยุกค์ใช้
     สามารถนำไปประยุกค์บูรณาการสอนทักษะวิชาคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆได้



วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วันที่ 5 ธันวาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่5 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

*** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ***




เข้าเรียนครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วันที่ 28 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
ครั้งที่4 เวลาที่เรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

สิ่งที่ได้รับ
  • อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขามาคนล่ะ1ตัว แล้วอาจารย์ก็ได้เชื่อมเข้าถึงเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่1 จำนวนและการดำานินการ
1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ 1 2 3 4 5 ........ เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นที่ล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์ที่เขียนแสดงจำนวนเรียกว่า เลขโดด  ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้
        ตัวเลขลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
        ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
        อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสอจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า....... เป็นการบอกอันดับที่
10.การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11.การแยกเป็นการนับรวมจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ